วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย



 

หลอดไฟจะสว่างก็ต่อเมื่อ ถ่านไฟฉาย สายไฟ และหลอดไฟต่อกันเป็นวงจร ทำให้มีกระแสไฟฟ้าในวงจร เรียกว่า วงจรปิด เมื่อเอาสายไฟออกจากวงจร ปรากฏว่า หลอดไฟดับ เรียกวงจรนี้ว่า วงจรเปิด 
(วงจรปิด หลอดไฟสว่าง, วงจรเปิด หลอดไฟไม่สว่าง)

วงจรไฟฟ้าทุกวงจรจะมีส่วนประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน 


  • ส่วนแรก คือ แหล่งพลังงานไฟฟ้า ในที่นี้คือ ถ่านไฟฉาย จะให้พลังงาน ทำให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ในวงจร ถ้าไม่มีแหล่งพลังงานประจุไฟฟ้า ก็จะไม่เคลื่อนที่ เช่น ถ้าถ่านไฟฉายหมดหรือไม่มีหลอดไฟฉายก็จะไม่สว่าง 
  • ส่วนที่สอง คือ อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่สามารถทำงานได้เมื่อมี กระแสไฟฟ้า     เช่น หลอดไฟ 
  • ส่วนที่สาม คือ สายไฟ ที่ต่อเชื่อม แหล่งพลังงานเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า ทำให้มีกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องครบวงจร
ส่วนประกอบภายในวงจรไฟฟ้า


แผนภาพวงจรไฟฟ้า




      ไฟฟ้าในบ้านเป็นวงจรไฟฟ้า ทุกครั้งที่เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเปิดไฟแล้วหลอดไฟสว่าง เมื่อเปิดพัดลมแล้วพัดลมหมุน หรือเมื่อเสียบปลั๊กเตารีดแล้วเตารีดร้อน แสดงว่ามีกระแสไฟฟ้าครบวงจร
     ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการปิดและเปิด วงจรไฟฟ้าในบ้านเรา
จึงใช้ สวิตช์
     สวิตช์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ควบคุม การเปิดหรือปิดวงจรไฟฟ้า


ดังนั้นถ้าเราใช้สวิตช์ต่อในวงจรไฟฟ้า จะได้ภาพและสัญลักษณ์ ดังนี้


จันทรุปราคา

จันทรุปราคา


ตั้งแต่คืนวันที่ 27 ก.ค. ต่อเนื่องวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา (Lunar eclipse) เต็มดวง หรือ ราหูอมจันทร์ ยาวนานสุดที่ในรอบ 100 ปี คาดว่าจะสามารถมองเห็นได้ในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
โดยจันทรุปราคาจะปรากฏให้เห็นในลักษณะเต็มดวง ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 43 นาที ขณะที่ปรากฏการณ์ครั้งนี้จะเกิดขึ้นในเวลาทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง 55 นาที ผู้คนจะมองเห็นดวงจันทร์ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง หรือเรียกว่า พระจันทร์สีเลือด นั่นเอง
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถมองเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ด้วยตาเปล่า แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของแต่ละท้องที่ สำหรับประเทศไทยสังเกตการณ์ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ได้โดยเฉพาะตั้งแต่เวลา 00.14 - 06.10 น.

ปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญรวม 3 ปรากฎการณ์ ประกอบด้วย

1. ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ ที่ระยะห่าง 57.8 ล้านกิโลเมตร  เราจะมองเห็นดาวอังคารสีส้มแดงสุกสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  และมีขนาดใหญ่กว่าปกติ สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ตลอดคืน
 2. จันทรุปราคาเต็มดวง ในช่วงหลังเที่ยงคืนวันที่ 27 กรกฎาคม คราสเต็มดวงกินเวลา 1 ชั่วโมง  43 นาที เวลา 02.30 -  04.13 น. นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 


3. ดวงจันททร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 406,086 กิโลเมตร ในขณะที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ยังเกิในช่วงที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดังนั้นในคืนดังกล่าวเราจึงจะเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงในช่วงที่ดวงจันทร์มีขนาดเล็กที่สุดในรอบปี และยังจะเห็น "ดาวอังคารสีแดง เคียงดวงจันทร์สีแดง" อีกด้วย ซึ่งเป็นแรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน

วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

  หลอดไฟจะสว่างก็ ต่อเมื่อ ถ่านไฟฉาย สายไฟ และหลอดไฟต่อกันเป็นวงจร   ทำให้มีกระแสไฟฟ้าในวงจร เรียกว่า วงจรปิด เมื่อเอาสายไฟออกจาก...

จันทรุปราคาเต็มดวง